หลักการและเหตุผล
ในกระแสการแข่งขันที่รุนแรงในเชิงธุรกิจ ความผันผวน หรือวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ และ ของโลก ปัญหาราคาน้ำมัน อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือค่าเงิน ระบบการค้าเสรี อีกทั้งลูกค้ามีโอกาสเลือกในสิ่งที่ดีกว่า ราคาถูกกว่า ทำให้เกิดผลกระทบกับการบริหารจัดการต้นทุน หรือต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากสาเหตุที่ต้องสูญเสียพลังงาน วัตถุดิบ และหรือทรัพยากรอื่น ๆ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่า หรือใช้มากเกินความจำเป็น หรืออื่น ๆ ดังนั้น องค์กรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องปรับตัว หรือเตรียมความพร้อม ในการรองรับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มศักยภาพ/ขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กร นำพาองค์กรให้ดำเนินธุรกิจไปถึงเป้าหมาย/ความสำเร็จอันสูงสุด(กำไร) ทั้งนี้ การลดต้นทุนในองค์กร การประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการลดและกำจัดความสูญเปล่า(เสีย) หรือ Muda ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือไม่เพิ่มคุณค่างาน (Non-Value Added) จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มผลกำไร และหรือรักษาดุลยภาพให้องค์กรรอดพ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจได้ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้พนักงานเกิดจิตสำนึก หรือตระหนัก ให้ความสำคัญกับการค้นหา การลดและกำจัดความสูญเปล่า (เสีย) ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานของตน แบบยั่งยืน อีกด้วย
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เห็นความสำคัญของแนวคิดในการวิเคราะห์ต้นทุนของกิจกรรมต่างๆ ในกระบวนการผลิต
- เพื่อ เพิ่มระดับความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการ ความสูญเปล่า (เสีย)ในองค์กร
- เพื่อให้เข้าใจหลักปฏิบัติในการค้นหา การลดและกำจัดความสูญเปล่า (เสีย) ที่สามารถทำได้
- เพื่อนำแนวทางในการคิดวิเคราะห์ต้นทุนมาประยุกต์ใช้ในองค์กร
หัวข้อในการฝึกอบรม
- วิกฤตการ 4C ในยุคโลกาภิวัตน์
- กิจกรรมที่มีผลกระทบกับต้นทุน
- แนวทางการลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไร
- 4. Muri Mura Muda
- Muda กับ ความสูญเปล่า (เสีย) 7 ประการ (7 Waste)
- เทคนิคการค้นหา การลด และกำจัดความสูญเปล่า (เสีย) 7 ประการ
- Workshop
วิธีการฝึกอบรม (In-house Training)
การบรรยาย อภิปราย กิจกรรมกลุ่ม และ VDO กรณีศึกษา
ระยะเวลาในการอบรม : 1 วัน / เวลา 09.00 – 16.00 น. (6 ชั่วโมง)
วิทยากร : อาจารย์ ดำริ เอกเจริญ